
รวมหลังคาบ้าน สวย เรียบ เหมาะกับสภาพภูมิอากาศของไทย ไม่เข้ากับรูปหน้า บ้านก็อาจจะดูไม่เข้าตาเท่าไร ถึงแม้ในปัจจุบันจะไม่มีกรอบตายตัว
1. หลังคาบ้านทรงจั่ว
เป็นรูปแบบหลังคาทรงมาตรฐานที่พบเห็นได้ทั่วไป หลังคาบ้านสวย ๆ มีความร่วมสมัยและเป็นที่นิยม เนื่องจากรูปทรงลาดเอียงของหลังคาถูกออกแบบมาเพื่อให้อากาศไหลเวียน ช่วยให้มวลอากาศเย็นเข้ามาช่วยระบายความร้อน ทำให้สามารถระบายความร้อนภายใต้หลังคาได้ดี เหมาะกับสภาพอากาศร้อนชื้นแบบประเทศไทย อีกทั้งหากวางทิศทางให้เหมาะสมยังรับลมได้ดีกับลมประจำถิ่นอีกด้วย
2. หลังคาบ้านทรงปั้นหยา
หลังคานี้จะมีรูปทรงดูคล้าย ๆ กับทรงจั่ว แต่จะต่างกันที่หลังคาทรงปั้นหยาจะมีด้านลาดชัน 4 ด้าน และมักจะมีชายคาที่ยื่นออกไปปกคลุมตัวบ้าน ช่วยกันแดดและกันฝนได้ดี ด้วยรูปทรงที่มั่นคงของโครงสร้างที่ผสานกัน 4 ด้าน ทำให้หลังคาทรงปั้นหยา นอกจากจะเป็นหลังคาบ้านสวย ๆ ที่มีความคงทนแข็งแรง แต่ขณะเดียวกัน ในด้านการระบายอากาศและการรับลมจะทำได้ไม่ค่อยดีนัก จึงควรติดแผ่นฝ้าชายคาที่มีรูระบายอากาศ หรือเว้นร่องฝ้าชายคา เพื่อให้สามารถระบายอากาศใต้หลังคาได้ดีขึ้น
3. หลังคาบ้านทรงมะนิลา
เป็นทรงที่มีการผสมผสานระหว่าง ทรงจั่ว และ ทรงปั้นหยา โดยรูปทรงจะมีจั่วอยู่บริเวณยอดหลังคา ข้อดีของหลังคาทรงมะนิลา คือมีความแข็งแรงมั่นคง กันแดดกันฝนได้ดีเหมือนกับทรงปั้นหยา และยังสามารถระบายความร้อนได้ดีเหมือนกับทรงจั่ว ทำให้หลังคาทรงมะนิลาเป็นหลังคาบ้านสวย ๆ ที่นิยมในประเทศเขตร้อนอย่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
4. หลังคาบ้านทรงแบน
หลังคาบ้านทรงแบนหลังคาที่ได้รับความนิยมอย่างมากในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะในทาวน์เฮ้าส์และทาวน์โฮม ข้อดีของหลังงคาทรงแบนคือ เป็นหลังคาบ้านสวย ๆ ให้รูปทรงแบบโมเดิร์นสวยงาม เหมาะกับบ้านในเมือง สามารถใช้พื้นที่หลังคาในการทำประโยชน์ได้ แต่เนื่องด้วยหลังคาทรงแบนทำด้วยคอนกรีต ทำให้สะสมความร้อนไว้มากกว่าหลังคาในรูปแบบอื่น
5. หลังคาบ้านทรงเพิงหมาแหงน
หลังคาบ้านทรงเพิงหมาแหงนเป็นหลังคาบ้านสวย ๆ ให้ความโมเดิร์นทันสมัยเช่นเดียวกับหลังคาทรงแบน มีความทันสมัย ที่โดดเด่นขึ้นมาเลยทีเดียว แต่จะมีความลาดเอียงด้านใดด้านหนึ่ง นิยมใช้ในบ้านที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก เนื่องจากหลังคาทรงนี้ป้องกันความร้อนได้ไม่ดีนัก ซึ่งแก้ไขได้ด้วยการออกแบบช่องระบายความร้อนใต้หลังคาเพิ่มเติม แต่มีข้อดีคือสามารถก่อสร้างง่าย รวดเร็ว และมีราคาประหยัด
6. หลังคาบ้านทรงปีกผีเสื้อ
เป็นลักษณะของหลังคาทรงเพิงหมาแหงนหันหลังชนกัน ตรงกลางเป็นส่วนลาดเอียงต่ำ มีความทันสมัย สามารถรับน้ำฝนได้ดี แต่สำหรับพื้นที่ฝนตกชุกจะไม่ค่อยเหมาะ เนื่องจากมีโอกาสหลังคารั่วซึมได้
7. หลังคาบ้านทรงกลม
เป็นทรงที่ไม่ค่อยพบเห็นเท่าไรนัก เนื่องจากก่อสร้างยาก ไม่สามารถใช้วัสดุหลังคาประเภทกระเบื้องได้ ข้อดีของหลังคาทรงกลมที่มีหลังคาบ้านสวย ๆ โดดเด่นสวยงาม ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการรั่วซึม แต่ต้องอาศัยช่างที่มีความชำนาญในการก่อสร้างและการคำนวณโครงสร้าง
ข้อควรระวังในการติดตั้งหลังคา Contemporary
หลังคาทรงปั้นหยา หรือแบบผสมผสานประกอบกัน แม้ว่าจะเป็นรูปมาตรฐานที่ไม่ได้ซับซ้อนมาก แต่ก็ต้องควรระมัดระวังในการติดตั้งหลังคา โดยเฉพาะรอยต่อ จุดชนผนังและสันหลังคา ดังนี้
1. บริเวณข้างกระเบื้องแผ่นเรียบชนผนัง ต้องใส่แผ่นรองใต้หลังคา และแผ่นปิดรอยต่อ 1 แผ่นบริเวณจุดต่อครอบ อีกหนึ่งจุดที่ต้องให้ความสำคัญคือ บริเวณรอยต่อระหว่างกระเบื้องชนผนัง หากกระเบื้องที่เลือกใช้เป็นกระเบื้องแผ่นเรียบ บริเวณดังกล่าวจะต้องใส่แผ่นรองใต้หลังคา และแผ่นปิดรอยต่อ 1 แผ่น บริเวณจุดต่อของครอบผนัง เพื่อป้องกันการรั่วซึม
2.สันหลังคามุกชนผืนหลังคาหลัก ต้องใส่แผ่นปิดรอยต่อ หากหลังคาปั้นหยามีการเปลี่ยนทิศทางขององศาหลังคา จะเกิดรอยต่อที่เรียกว่าตะเข้ ซึ่งบริเวณรอยต่อตะเข้ ต้องมีการป้องกันรั่ว ซึ่งจุดที่สำคัญ คือ
2.1 สันหลังคา จะต้องติดตั้งอุปกรณ์เพื่อป้องกันรั่ว 2 จุด คือ บริเวณที่กระเบื้องหลังคาผืนเล็กบรรจบกับหลังคาผืนหลัก ต้องติดตั้งแผ่นปิดรอยต่อปลายครอบสันหลังคา และอีกหนึ่งจุดคือ บริเวณหัวรางน้ำขากางเกง ซึ่งอยู่ใต้ครอบสันหลังคา ต้องติดตั้งแผ่นปิดหัวรางบริเวณจุดต่อชนของรางน้ำ
2.2 เราต้องหาบริเวณหัวรางน้ำตะเข้ จะต้องติดแผ่นปิดหัวราง 1 แผ่น และแผ่นปิดรอยต่อบริเวณราง 1 แผ่น อีกทั้งบริเวณรอยต่อครอบ จะต้องติดแผ่นปิดรอยต่อครอบ 1 แผ่น เพื่อป้องกันการรั่วซึม
3.Sub Roof หลังคารอบล่าง (หลังคาผืนล่าง) มีความต่างองศาหลังคามากกว่า 17 องศา จะมีโอกาสที่น้ำรั่วซึมได้ เนื่องจากเป็นพื้นที่รองรับน้ำฝน จากหลังคาผืนบน ซึ่งมีแรงตกกระทบของน้ำมากพอสมควร ดังนั้นจึงต้องป้องกันการรั่วซึมโดยการติดตั้ง Sarking โดยติดตั้งบริเวณใต้แป และบนจันทันเท่านั้น ซึ่งการติดตั้งจะต้องติดตั้งให้ถึงขอบนอกไม้บัวเชิงชายเสมอ และต้องติดจนถึงแนวผนังทั้งด้านหัวและด้านข้างกระเบื้อง ที่สำคัญคือปลายแผ่นรองใต้หลังคาต้องติดบนหลังจันทัน ห้ามทิ้งหรือต่อแผ่นระหว่างจันทันดยเด็ดขาด
ข้อเเนะนำและวิธีการดูเเลหลังคาบ้านเบื้องต้น
1. หลังคาก็เหมือนจิ๊กซอว์ที่เกิดจากการนำชิ้นส่วนย่อยๆ ประกอบขึ้นเป็นแผ่นหลังคาทั้งหมด เป็นวิธีการมุงกระเบื้องที่ไม่เหมาะสม เพราะแน่นอนว่าจะต้องเกิดรอยต่อระหว่างการซ้อนทับกัน ซึ่งระยะซ้อนทับของกระเบื้องแต่ละแผ่นนั้นหากว่ามีระยะน้อยเกินไป ก็จะเป็นจุดหนึ่งที่ทำให้น้ำฝนย้อนเข้ามาใต้ผืนหลังคาได้ นอกจากนี้ก็ต้องคำนึงถึงเรื่องของทิศทางการซ้อนทับกันด้วยว่า สัมพันธ์กับทิศทางลมฝนหรือไม่ โดยพิจารณาจากลมฝนที่เกิดขึ้นในแต่ละทำเลที่ตั้ง เพราะ การซ้อนกันของกระเบื้องจะมีรอยต่อด้านข้างที่จะเป็นจุดที่น้ำฝนสามารถย้อนเข้าไปได้ ถ้าหากว่าเกิดวางอยู่ในทิศทางที่ปะทะกับลมฝน น้ำฝนก็มีโอกาสที่จะไหลเข้าไปตามรอยต่อได้มาก หรืออาจจะเกิดจากความลาดชันของผืนหลังคาที่น้อยเกินไป ก็ทำให้น้ำสามารถไหลย้อนกลับเข้าไปได้
ซึ่งสำหรับสาเหตุนี้ ทีมงานรับซ่อมหลังคารั่ว นั้นสามารถแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าได้ด้วยการเอาผ้ายางคลุมหลังคา หรืออุดรอยรั่วชั่วคราวด้วยเทปกาว แต่ถ้าต้องการแก้ไขปัญหาอย่างถาวร ควรจะต้องมีการรื้อหลังคาแล้วมุงใหม่
2. การยึดติดกระเบื้อง จะมีปัญหามาจากกระเบื้องจำพวกที่ต้องเจาะรูสำหรับยึดกับแปด้วยสกรูหรือตะปู ซึ่งการเจาะรูกระเบื้องนั้นควรจะใช้สว่าน เพราะความคมของดอกสว่านและความเร็วรอบของการหมุนดอกสว่าน จะไม่ทำให้กระเบื้องแตกร้าวเป็นแนวยาว ซึ่งตรงจุดนี้เองเป็นอีกจุดที่ทำให้น้ำรั่วเข้ามาได้
เราสามารถที่จะทำการซ่อมแซ่มเล็กๆน้อยๆโดยการอุดด้วยเทป กาวยาง ที่ใช้สำหรับอุดรอยรั่วหลังคา มาใช้ปิดรูหรือรอยแตกที่ว่านี้ ซึ่งในระยะยาวอาจต้องมีการเปลี่ยนกระเบื้องแผนใหม่ เพราะ เป็นทางเลือกที่ถาวรกว่า
3. กระเบื้องหลังคาไม่อยู่ในระนาบเดียวกัน แผ่นกระเบื้องหลังคาซ้อนทับกันไม่สนิท สาเหตุนี้มักเกิดมาจากเรื่องของโครงสร้างหลังคาในส่วนที่แปแอ่น ซึ่งถ้าเกิดจากสาเหตุนี้ขอบอกเลยว่าแก้ไขได้ยากมากทีเดียว ต้องอาศัยการรื้อหลังคาออกแล้วแก้โครงสร้างหลังคากันใหม่ ค่าใช้จ่ายต้องสูงแน่นอน เพราะมันเป็นเรื่องของโครงสร้าง
สำหรับสาเหตุนี้ จึงต้องป้องกันตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง พวกความคิดที่อยากประหยัดต้นทุนในตอนก่อสร้างอาจทำให้การเลือกขนาดของไม้แปที่เล็กไป หรือเว้นระยะห่างของจันทันมากไป ทำให้เวลาใช้งานจริงอาจเกินอาการตกท้องช้างได้ จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดตั้งแต่ตอนสร้างนั่นเอง
4. หลังคามีอาการน้ำรั่วซึมจากรางระบายน้ำ ซึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มองข้ามกันไม่ได้เลย เพราะบางทีน้ำก็รั่วเข้ามาจากรางน้ำฝนนี่ อาจเกิดจากการที่ขนาดของรางไม่สัมพันธ์กับขนาดของหลังคา ซึ่งบางทีเป็นหลังคาผืนใหญ่ แต่ใส่รางน้ำฝนเล็กไป ก็ทำให้น้ำไหลย้อนเข้าในตัวบ้านได้
ในกรณีเช่นนี้ ทีมรับซ่อมหลังคารั่ว เห็นว่าควรเปลี่ยนรางรับน้ำในตะเข้รางให้มีขนาดที่สามารถรองรับปริมาณน้ำฝนได้มากขึ้น กรณีที่หลังคามีรางรับน้ำโดยรอบชายคา ต้องหมั่นตรวจสอบดูด้วยว่ารางรับน้ำหรือท่อระบายน้ำของรางมีอะไรมาอุดตันหรือไม่ เพราะถ้าอุดตันจะทำให้น้ำล้นรางเข้าสู่อาคารได้ นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องของการอุดตันด้วยเช่นกัน ควรเลือกที่มีอุปกรณ์ฝาครอบ เพื่อกันใบไม้อุดตันนั่นเอง
5. แนวน้ำรั่วตามแนวรอยต่อระหว่างผืนหลังคา 2 ผืน ซึ่งแนวรอยต่อนี้จะต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า “ครอบ” ปิดไว้ น้ำฝนต่างๆ ก็มักจะรั่วตามครอบนี้ ถ้าหากมีการเสื่อมสภาพของปูนยึดครอบ หรือเกิดการแตกหักเสียหายที่ตัวครอบเอง แต่ก็อาจเกิดจากการติดตั้งที่ผิดวิธีได้เหมือนกัน เช่น การมุงครอบไม่ดี ทำให้เกิดการเผยอ เป็นต้น
เช็คตามจุดต่างๆ ได้ดังนี้ ออกแบบบริเวณบ้าน
1. เริ่มจากการตรวจเช็คดูด้านในก่อน ว่ากระเบื้องหลังคาแผ่นไหนมีสภาพทรุดโทรมและกระเบื้องใกล้หลุดแล้วบ้าง จากนั้นให้รีบซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่
2. ตรวจเช็คดูว่าตรงไหนมีรูรั่วที่น้ำสามารถลอดผ่านได้บ้าง จะได้อุดรอยรั่วได้ทันท่วงที เพื่อป้องกันน้ำหยดเวลาฝนตก
3.ตรวจสอบเช็คดูคราบสกปรก รอยด่างต่าง ๆ ที่ติดอยู่ตามกระเบื้อง หากมีคราบฝังแน่นเหล่านั้น ให้หาทางขจัดออกให้มากที่สุด หลังคาจะได้ดูใหม่ขึ้น
4. ตรวจเช็คดูว่าหลังคามีรูโบ๋ตรงไหน ที่แสงแดดจากด้านนอกสามารถสาดส่องเข้ามายังตัวบ้านได้บ้าง แล้วจัดการอุดรอยโบ๋ หรือเปลี่ยนแผ่นใหม่
5. เราควรตรวจหลังคาด้านนอกด้วยความระมัดระวังโดยการขึ้นไปบนหลังคา แล้วใช้สายตากวาดดูรอบ ๆ ว่ามีกระเบื้องหลังคาแผ่นไหนแตก, เป็นรูรั่ว และอันไหนกระเบื้องหลังคาหายไปบ้าง จะได้จัดแจงซ่อมแซม หรือเปลี่ยนใหม่ได้ตรงจุด
6. แผ่นกระเบื้องหลังคา ต้องตรวจเช็คแผ่นไหนที่เริ่มหลุด ต้องสังเกตุดีๆและไม่ติดแน่นแล้ว โดยเราต้องเช็ครอบๆ ปล่องช่องลม และแถว ๆ ท่อน้ำ เป็นต้น เพื่อแก้ไขก่อนที่แผ่นหลังคาจะร่วงหล่นลงมา จนเกิดอุบัติเหตุกับคนในบ้าน
7. ระวังก้อนกรวดเล็ก ๆ จะเข้าไปอุดในท่อน้ำมากเกินไป จะเกิดปัญหาท่อระบายน้ำฝนอุดตันได้ อย่าลืมตรวจเช็คความเรียบร้อยของท่อน้ำไม่ให้มีเศษใบไม้ลงไปคาอยู่ด้วย
8. ตรวจเช็คดูว่าตรงส่วนไหนมีความชื้น ผุพัง หรือมีเชื้อราบ้าง ถ้าปล่อยให้กระเบื้องหลังคาเปียกชื้นมาก ๆ เข้า จะทำให้เชื้อรา และแบคทีเรียสามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วในเวลา 1-2 วัน จะยิ่งทำให้แก้ปัญหาลำบากเข้าไปอีก
9. สิ่งสำคัญที่ไม่ควรลืม คือการตรวจสอบที่ระบายน้ำ โดยต้องให้ท่อระบายน้ำกับหลังคาเชื่อมติดกันอย่างมั่นคงแข็งแรง เพื่อไม่ให้เกิดน้ำรั่วออกมานอกท่อ
10. นอกจากจะเช็คหลังคาในเฉพาะส่วนที่คุณใช้เวลาบ่อยๆ แล้ว ให้เช็คดูความเรียบร้อยของหลังคาตรงห้องน้ำ ห้องครัว และตรงช่องระบายอากาศให้เรียบร้อยด้วย