
หน้าที่ของสถาปนิก ขอบเขตของงานพอสรุปเป็นหลักใหญ่ๆ หลายคนที่คิดจะสร้างบ้าน ก็พอจะรู้บ้างว่าจะต้องเขียนแบบบ้านเพื่อยื่นขออนุญาตกับเขต
หรืออบต. จึงจะสร้างบ้านได้ ความสำคัญของแบบไม่ได้ถูกจำกัดอยู่เพียงเท่านั้น การเขียนแบบและการออกแบบเป็นเรื่องเดียวกัน ต้องอาศัยบุคคล 2 คน คือ สถาปนิก กับ วิศวกรโครงสร้าง เป็นผู้ออกแบบ สำหรับอาคารขนาดใหญ่ มี วิศวกรไฟฟ้า, วิศวกรเครื่องกล, มัฑนากร, ภูมิสถาปนิก ร่วมออกแบบอยู่ด้วย โดยมีสถาปนิกเป็นหัวหน้าผู้ออกแบบ แบ่งงานกันทำตามวิชาชีพ มีหลายคนไม่รู้จักสถาปนิก เอ่ยถึงวิศวกรร้อง อ๋อ! และให้ความสำคัญกับวิศวกรมากกว่าสถาปนิกในทุกเรื่อง ความจริงหน้าที่ของวิศวกรโยธามีหน้าที่ออกแบบโครงสร้างของอาคารให้มีความมั่นคงแข็งแรง และเป็นที่ปรึกษาในช่วงของงานก่อสร้าง ซึ่งถือเป็นช่วงสำคัญช่วงหนึ่งของงานทั้งหมด ส่วนความสำคัญของสถาปนิกนั้นคนส่วนใหญ่ที่รู้จักสถาปนิกมักมองว่าเกี่ยวกับเรื่องสวยๆงามๆ อันที่จริงความสวยงามทางสถาปัตยกรรมนั้นเป็นเพียงเปลือกนอกของความสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถาปนิกเท่านั้น ส่วนการจะอธิบายให้บุคคลที่ไม่ใช้สถาปนิกเข้าใจถึงเนื้อแท้ของความสำคัญนั้นค่อยข้างยาก วิศวกรบางคนก็เข้าใจเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไปมองความสำคัญของสถาปนิกไม่ออกเหมือนกัน
ขอบเขตของงานพอสรุปเป็นหลักใหญ่ๆดังนี้
1. การจัดการวางเค้าโครงการ และออกแบบร่างขั้นต้น
1.1. แบบร่างผังบริเวณ
1.2. แบบร่างตัวอาคาร
2. การออกแบบร่างขั้นสุดท้าย
2.1. ผังบริเวณ
2.2. แบบร่างตัวอาคารแสดงผัง รูปด้าน รูปตัด ที่ได้รับการพัฒนาแล้ว
2.3. รายละเอียดวัสดุและอุปกรณ์ที่จะใช้ในโครงการโดยสังเขป
2.4. ประมาณราคาก่อสร้างตามขั้นตอนนี้
3. การทำรายละเอียดก่อสร้าง
3.1. แบบแสดงผัง ถนนและระบบสาธารณูปโภคภายนอกอาคาร
3.2. แบบผังทุกชั้น
3.3. แบบแสดงรูปด้าน 4 ด้าน
3.4. แบบแสดงรูปตัด 2 รูป
3.5. รายละเอียดประกอบแบบ
3.6. แบบวิศวกรรมโครงสร้าง
3.7. แบบวิศวกรรมระบบไฟฟ้า, ระบบสุขาภิบาล, ระบบปรับอากาศและระบายอากาศ (การออกแบบที่ดีจะต้องออกแบบระบบระบายอากาศด้วย)
3.8. ประมาณราคาค่าก่อสร้าง
4. การประกวดราคา
4.1. จัดทำงบประมาณราคากลาง
4.2. จัดเตรียมเอกสารประกอบการประกวดราคา
4.3. พิจารณาตรวจสอบใบเสนอราคาของผู้รับจ้างก่อสร้าง
4.4. ให้คำแนะนำในการคัดเลือกผู้รับจ้างก่อสร้าง
4.5. จัดเตรียมเอกสารสัญญา
5. การก่อสร้าง
5.1. ตรวจสอบการก่อสร้างของผู้รับจ้างก่อสร้างเป็นครั้งคราว
5.2. ให้คำแนะนำแก่ผู้รับจ้างก่อสร้าง
5.3. ให้รายละเอียดเพิ่มเติมตามความจำเป็น
5.4. ตรวจและอนุมัติแบบใช้งาน (Shop drawing) และวัสดุอุปกรณ์ตัวอย่างที่ผู้รับจ้างก่อสร้างนำเสนอ
6. การส่งมอบเอกสาร สถาปนิกจะส่งมอบแบบพิมพ์เขียว และ เอกสารประกอบแบบ จำนวน 10 ชุด
6.1. สำหรับยื่นขออนุญาต 5 ชุด
6.2. สำหรับเจ้าของอาคาร 1 ชุด
6.3. สำหรับให้ผู้รับเหมาใช้คิดราคา และ อื่นๆ 4 ชุด สถาปนิก